messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
โนนงาม
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
image แหล่งท่องเที่ยว
ถนนสายท่องเที่ยวตำบลโนนงาม[6 ตุลาคม 2558]
ถนนสายเศรษฐกิจตำบลโนนงาม[6 ตุลาคม 2558]
 
image ผลิตภัณฑ์ตำบล
ผ้าใสร่ง[11 พฤศจิกายน 2558]
ผ้าถุงมัดหมี่[11 พฤศจิกายน 2558]
ผ้าไบ [11 พฤศจิกายน 2558]
 
insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป

ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม ตำบลโนนงาม อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอปทุมราชวงศา โดยมีระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีระยะทางจากจังหวัดอำนาจเจริญประมาณ ๒๒ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเหล่าพรวน อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงามมีเนื้อที่ประมาณ ๔๒.๔๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๖,๕๕๐ ไร่ ข้อมูลจากที่ทำการปกครองจังหวัดอำนาจเจริญ แต่ในการจัดทำแผนที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอำนาจเจริญได้จัดทำแนวเขตและวัดพื้นที่ตามคำบรรยายเขตประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอวัดเนื้อที่ได้ ๓๗.๓๗ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๒๓,๓๕๘ ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลโนนงามสภาพพื้นที่ทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเนินและที่ราบสลับที่ราบลุ่มโดยจะลาดเทจากทางด้านทิศเหนือเขตพื้นที่สูงบริเวณหมู่ที่ ๖ บ้านคำไหล และหมู่ที่ ๗ บ้านนาเรืองลงมา มีแหล่งน้ำไหลผ่าน คือ ห้วยจิกเปา และห้วยพระเหลา

ปัญหาด้านต่างๆ ของตำบลโนนงาม

๑. ด้านพัฒนาเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลโนนงาม ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ดังนั้นรายได้หลักจึงมาจากภาคเกษตร การทำการเกษตรของเกษตรกรดังกล่าวเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง ปศุสัตว์ ยางพารา และปาล์ม สำหรับรายได้อื่นๆ มาจากการรับจ้างตามฤดูกาล ดังนั้นสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ดังนี้ จุดแข็ง ๑) ดินในพื้นที่ตำบลโนนงามเป็นดินที่ดี มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ๒) เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำการเกษตร โดยสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ๓) เกษตรกรมีความคุ้นเคยใกล้ชิดกันเป็นเครือญาติ มีการพึงพาอาศัยกัน จุดอ่อน ๑) เกษตรขาดองค์ความรู้ใหม่ๆ หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการทำการเกษตร ๒) ไม่มีระบบชลประทาน ๓) ทำการเกษตรระบบเดี่ยว (ไม่มีการปลูกพืชหลายชนิด และไม่มีการทำปศุสัตว์ ควบคู่ไปด้วย) ๔) เกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่มอย่างจริงจัง ๕) ขาดผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็ง อุปสรรค ๑) การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ๒) ปุ๋ยเคมีมีราคาสูง ๓) เกษตรกร ไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตเองได้ ขึ้งอยู่กับพ่อค้าคนกลาง โอกาส ๑) เกษตรกรมีความรักและหวงแหนในการทำอาชีพเกษตรกรรม ๒) มีการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐในส่วนกลาง ๓) กระแสตลาดที่มีความต้องการสินค้าด้านการเกษตรที่ปลอดสารพิษ

๒. ด้านพัฒนาการศึกษาและเอกลักษณ์วัฒนธรรมและด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต
จากตารางที่ ๑๐ และ ๑๑ จะเห็นได้ว่าตำบลโนนงามมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ถึง ๔ ศูนย์ มีโรงเรียนถึง ๒ โรงเรียน นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล เป็นหน่วยส่งเสริมการเรียนของประชาชนในพื้นที่ตำบล และจากตารางที่ ๑๕ จะเห็นว่าตำบลโนนงามมีวัดและสำนักสงฆ์ ถึง ๖ แห่ง ซึ่งถือว่ามากพอสมควรและประชาชนส่วนใหญ่ ประมาณ ร้อยละ ๙๕ นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ดังนี้ จุดแข็ง ๑) ประชากรนับถือพระพุทธศาสนา ๒) ประชากรมีการประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง ๓) มีผู้นำชุมชนที่ดี ๔) มีผู้บริหารที่มีความสามารถ ๕) การเป็นครอบครัวขยาย ไม่มีความขัดแย้งกันในชุมชน มีความโอบอ้อมอารีต่อกัน จุดอ่อน ๑) มีผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ๒) มีร้านค้าสถานบันเทิงที่ไม่ขออนุญาต ๓) การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อุปสรรค ๑) ยาเสพติด ๒) ผู้ติดยาเสพติด ๓) การลักขโมย ๔) หนี้นอกระบบ โอกาส ๑) มีศูนย์รวมจิตใจ คือ วัด ที่พักสงฆ์ ๒) มีโรงเรียนขยายโอกาส ๓) มีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ๔) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายในหมู่บ้าน ๕) มีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่าน ๖) ความเป็นสังคมชนบท

๓. ด้านพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จุดแข็ง ๑) ประชาชนเลือกผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิสภาด้วยตนเอง ๒) ไม่มีการร้องเรียนซึ่งกันและกัน ๓) ประชาชนมีความต้องการการกระจายอำนาจ จุดอ่อน ๑) ประชาชนไม่เข้าใจวิธีการลงคะแนนทำบัตรเสีย ๒) มีการจูงใจให้ลงคะแนน (การซื้อสิทธิขายเสียง) อุปสรรค ๑) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการปกครองตนเอง ๒) ประชาชนมาใช้สิทธิออกเสียงน้อย ๓) ความมีคุณธรรมจริยธรรมของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง โอกาส ๑) กฎหมายในระดับสูงสุด (รัฐธรรมนูญ) จนถึงกฎหมายในระดับต่ำสุด (ระเบียบ,ข้อบังคับ) สนับสนุนแนวทางการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ๒) นโยบายของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ๓) การใช้ระบบธรรมาภิบาลในการบริหารงาน

๔. ด้านส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตำบลโนนงาม เป็นหนึ่งในตำบลที่ศาสนสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระธาตุพนมจำลอง ที่สำนักสงฆ์ภูตู้ทอง และสถานที่ท่องเทียวเชิงอนุรักษ์ภูตู้ทอง ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดในจังหวัดอำนาจเจริญ สูงจากระดับน้ำทะเล ๓๓๖ เมตร ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าว สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ดังนี้ จุดแข็ง ๑) มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และศาสนสถานที่เก่าแก่ ๒) มีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่าน ๓) มีความเป็นสังคมชนบท จุดอ่อน ๑) แผนผังแสดงเส้นทางคมนาคม จากทางหลวงแผ่นดินสู่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติภายในตำบลชัดเจน ๒) ขาดการประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง และสู่กลุ่มคนภายนอก ๓) การให้ความสำคัญในการดูแลและร่วมรักษาทรัพยากรจากประชาชนในชุมชน อุปสรรค ๑) ความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้าน ๒) การหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชุมชน ๓) การบุกรุกของกลุ่มนายทุน โอกาส ๑) ความเป็นสังคมชนบทที่ต้องอาศัยพึ่งพิงธรรมชาติในการดำรงชีวิต โดยการเกื้อกูลกัน ๒) กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

๕. ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
จุดแข็ง ๑) มีส่วนงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือส่วนโยธา ๒) มีเส้นทางการคมนาคมหลายสายเชื่อมต่อระหว่างหมู่ต่อหมู่บ้าน และตำบลข้างเคียง ได้สะดวก ๓) การให้ความสำคัญของคณะผู้บริหาร และสมาชิกสภา การติดตามเอาใจใส่ จุดอ่อน ๑) งบประมาณในการพัฒนามีน้อย ๒) การกระจายงบประมาณในการด้านโครงสร้างพื้นฐานไปหมู่บ้านต่างๆ ทำให้แต่ละจุดขาดความสมบูรณ์ ๓) การหาผลประโยชน์ จากกลุ่มบุคคล ในการใช้งบประมาณด้านนี้ อุปสรรค ๑) การสมยอมราคากันระหว่างผู้รับจ้าง ๒) การสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลาง ๓) ขนาดของพื้นที่ตำบลต่อจำนวนเส้นทางคมนาคม ๔) การเพิ่มจำนวนของเส้นทางในแต่ละปี โอกาส ๑) ความเป็นสังคมชนบท ๒) การพึ่งพาอาศัยกัน สังคมโดยส่วนใหญ่ยังไม่พึ่งพาเทคโนโลยีมากนัก ๓) ความสามัคคีของคนในชุมชน จากข้อมูลในแต่ละด้านดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของตำบลโนนงาม คือการเป็นสังคมชนบท ของชาวตำบลโนนงาม ความโอบอ้อมอารี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นสังคมที่แบ่งปัน มีความรักความสามัคคี มีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการมีองค์กรในการพัฒนาตำบลที่เข้มแข็ง คือองค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม ดังนั้นจึงวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในภาพรวมได้ ดังนี้ จุดแข็ง (Strength - S) ๑) โครงสร้างองค์กรมีครบสี่ส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ ๒) มีการจัดวางระบบควบคุมภายในเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๓)การใช้แผนพัฒนาเป็นเครื่องมือการบริหารงานเพื่อการพัฒนาและกรอบการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณ ๔) การพัฒนาท้องถิ่นโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและส่วนรวม ๕) การปฏิบัติราชการโดยยึดถือกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือสั่งการ เพื่อความถูกต้องและลดความเสี่ยงในการปฏิบัติราชการ ๖) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กมีเขตการปกครองจำนวน ๘ หมู่ สามารถบริหารงานได้ทั่วถึงและครอบคลุม ๗) การจัดให้มีวัสดุครุภัณฑ์และเครื่องมือเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อการที่จำเป็น เพื่อเอื้อต่อการปฏิบัติราชการและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ๘) ความเป็นสังคมชนบท ความโอบอ้อมอารี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นสังคมที่แบ่งปัน มีความรักความสามัคคี จุดอ่อน (Weakness-W) ๑) ข้อจำกัดด้านงบประมาณที่ได้รับอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อการบริหารงานทั่วไป ๒) ข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การปฏิบัติตามแผนพัฒนาท้องถิ่นอาจไม่สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย ๓) ข้อจำกัดด้านบุคลากรมีน้อยอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ๔) การแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มบุคคล ในการเสนอราคาในงานพัฒนาต่างๆ ของตำบล โอกาส (Opportunity - O) ๑) การพัฒนาบุคลากร ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยการส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษา การเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพ ๒) องค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชนร่วมกันรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีของท้องถิ่น ๓) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ๔) การจัดทำและการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบูรณาการปฏิบัติราชการและเกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๕) การได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลทั้งงบอุดหนุนเฉพาะกิจและงบอุดหนุนทั่วไปเพื่อบริหารและพัฒนาท้องถิ่น ๖) นโยบายของรัฐบาลการเพิ่มรายได้ให้ข้าราชการและพนักงานเพื่อการครองชีพและสวัสดิการสังคมรวมทั้งกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศเพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ ๗) การเปิดประตูเข้าสู่(ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนAEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Aseanเพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะทำให้มีผลประโยชน์อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า- ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรียกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า)เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนาและยกระดับการพัฒนา สามารถปรับตัวจากสังคมภายนอกได้อย่างมีภูมิคุ้มกัน ๘) ตำบลยังเป็นสังคมชนบท ชุมชนและประชาชนมีความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อและวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเอื้อต่อปกครอง การอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมอันดี รวมทั้งการจัดวางระบบผังเมืองให้เกิดการบริหาร การพัฒนาที่เป็นระบบ อุปสรรค(Threat-T) ๑) สภาวะทางธรรมชาติ ทั้งภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดสภาวะอากาศร้อนมากขึ้นรวมทั้งการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสาธารณภัย ๒) การแพร่หลายของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก รวมทั้งสื่อออนไลน์ ภัยคุกคามจากสื่อ ITอินเตอร์เน็ต อาจส่งผลกระทบด้านสังคมขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ๓) เสถียรภาพของรัฐบาลซึ่งอาจส่งผลต่อการนโยบายการพัฒนาและความต่อเนื่องการบริหารราชการแผ่นดิน ๔) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลมีจำกัด ทำให้สัดส่วนการพัฒนาท้องถิ่นมีน้อยและไม่ครอบคลุมทุกยุทธศาสตร์ ๕) การบุกรุกของกลุ่มนายทุน ๖) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการปกครองตนเอง ๗) กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและหนังสือสั่งการมีมาก รวมทั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติมอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติราชการเกิดความผิดพลาด และบางกรณีทำให้เกิดการซ้ำซ้อน ความสับสน ต่อระดับผู้ปฏิบัติ ๘) ประชาชนบางส่วนยังคงแนวความคิดในการรอรับความช่วยเหลือมากกว่าการพึ่งตนเอง ๙) ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและพลังงานน้ำมัน

info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงามเป็นหน่วยงานกลางในการบริหารงานท้องถิ่นที่ดีมีมาตรฐาน

อัตลักษณ์
ตำบลโนนงามเป็นสังคมชนบท

check_circle ตราสัญลักษณ์ / คำขวัญ
ตราสัญลักษณ์หน่วยงาน


คำขวัญ อบต.โนนงาม
โนนงามนามตำบล ผู้คนไฝ่ธรรม งามล้ำประเพณี ฮีตสิบสอง ของดีผ้าทอมือ เลื่องลือเกษตรกรรม น้อมนำสามัคคี มากมีถ้ำภูผาเด่น เส้นทางสู่ผาชื่นวาริน

check_circle พันธกิจ-ยุทธศาสตร์
พันธกิจ (Mission)
M ๑ เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารและบังคับใช้กฎมายท้องถิ่น M ๒ พัฒนาระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุม พร้อมจัดวางระบบผังเมืองที่ดี M ๓ เสริมสร้างความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยและการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการพัฒนาด้านสาธารณสุขการป้องกันและระงับโรคติดต่อในชุมชน M ๔ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ให้กับบุคลากร ให้มีความรู้ในบทบาทหน้าที่ และสร้างเครือข่ายขยายการมีส่วนร่วมของประชาชนให้กว้างขวางและแพร่หลาย M ๕ เผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างและประชาชนในการที่จะปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น M ๖ เป็นองค์กรแห่งความเป็นธรรมและโปร่งใส และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี M ๗ เป็นหน่วยงานแห่งความหวังที่ดีที่สุดที่มีอยู่ของประชาชน M ๘ ส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันดีของตำบล M ๙ ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goals)
G ๑ สังคมสงบสุขเรียบร้อย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี G ๒ เด็กและเยาวชนมีความรู้ คุณธรรมจริยธรรมและมีพัฒนาการ วุฒิภาวะที่ดีเหมาะสมตามวัย G ๓ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ดีมีสุข สามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง G ๔ ประชาชนมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาตำบลและพัฒนาการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี G ๕ ประชาชน ชุมชนมีส่วนร่วมต่อการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันดีของตำบล G ๖ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ถูกทำลายและมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์ G ๗ ประชาชนเข้าใจบทบาทของตนเอง ในการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เพื่อตนเอง

ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม
การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม โดยการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดจุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรคหรือภัยคุกคาม (Threat) เพื่อนำผลการ วิเคราะห์ไปกำหนดกลยุทธ์การทำงาน นำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา จากการวิเคราะห์ SWOT ได้ยุทธศาสตร์การพัฒนา 5 ด้าน โดยยึดหลักยุทธศาสตร์จังหวัดร่วมด้วย ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้เป็นสังคมเมืองน่าอยู่ แนวทางการพัฒนา มี 10 แนวทาง 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2. รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนขจัดปัญหาความยากจน ดูแลผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ 4. ส่งเสริมหลักประกันสุขภาพ 5. พัฒนาแหล่งการค้าตามแนวชายแดน 6. ป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด 7. เป็นเมืองสวัสดิการถ้วนหน้า 8. เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 9. ปลูกฝังอุดมการณ์แห่งการรู้รักษ์สามัคคี 10. สร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา มี 3 แนวทาง 1. พัฒนาด้านการศึกษา กีฬา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. พัฒนาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ 3. สนับสนุนเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ทางการศึกษาและกีฬา ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการพัฒนา มี 6 แนวทาง 1. นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับครอบครัวและชุมชน 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ และการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีและข้ามหอมมะลิอินทรีย์ มีศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนที่ได้มาตรฐาน 4. พัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานสากล 5. ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อการจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ 6. ส่งเสริมสนับสนุนดูแลพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและผู้ใช้น้ำ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา มี 6 แนวทาง 1. อนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุลและยั่งยืน 2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างเหมาะสม 3. ส่งเสริมการปลูก ฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าไม้ธรรมชาติ 4. ส่งเสริมการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม 5. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 6. ส่งเสริมสนับสนุนให้ใช้พลังงานทางเลือก ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 1. ส่งเสริมสนับสนุนปลูกฝังเด็กและเยาวชน ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรมและจริยธรรม 2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีทุกเครือข่าย 3. ยึดหลัก “ธรรมาภิบาล” บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. ส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่นอย่างยั่งยืน

ผลการวิเคราะห์ผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาทางกายภาพในมิติพื้นที่
การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสในการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่นด้วยเทคนิค SWOT Analysis (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) เป็นการประเมินโดยวิเคราะห์ถึงโอกาสและภาวะคุกคามหรือข้อจำกัด อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ของท้องถิ่น รวมทั้งการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของท้องถิ่น อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดเป็นการประเมินสถานภาพของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยเป็นการตอบคำถามว่า ปัจจุบันท้องถิ่นมีสถานภาพการพัฒนาอยู่จุดไหน สำหรับใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดการดำเนินงานในอนาคตต่อไป ทั้งนี้โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength-S) หมายถึง ทรัพยากรด้านต่างๆที่ได้เปรียบหรือส่วนที่เข้มแข็งภายในองค์กรที่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อผลักดันให้องค์การสามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์การ เช่น ด้านโครงสร้าง ระบบงาน บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ กฎหมาย จุดอ่อน(Weakness -W) หมายถึง ข้อเสียเปรียบ ข้อผิดพลาด ในองค์การที่เป็นข้อด้อย หรือเป็นข้อจำกัดด้านต่างๆ ที่ส่งผลทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์การ เช่น ด้านโครงสร้าง ระบบงาน บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ กฎหมาย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายในหน่วยงาน ส่วนการวิเคราะห์โอกาส(Opportunity-O) หมายถึง สถานการณ์หรือปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเกื้อกูลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์การ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีอุปสรรค(Threat-T) หมายถึง สถานการณ์หรือปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีลักษณะเป็นอุปสรรค ขัดขวาง หรือทำให้เกิดผลเสียหาย ผลกระทบในทางลบต่อบริหารงานขององค์การ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายนอกหน่วยงาน การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม ในรอบปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก จึงวิเคราะห์ในแต่ละด้าน แล้วนำมาวิเคราะห์ในภาพรวม เพื่อให้เกิดความคาดหวังในอนาคต ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม จะมุ่งเดินไปในอนาคตอย่างมีทิศทาง (เกิดวิสัยทัศน์ Vision ใหม่) ดังนี้ ๑. ด้านพัฒนาเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของตำบลโนนงาม ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ดังนั้นรายได้หลักจึงมาจากภาคเกษตร การทำการเกษตรของเกษตรกรดังกล่าวเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง ปศุสัตว์ ยางพารา และปาล์ม สำหรับรายได้อื่นๆ มาจากการรับจ้างตามฤดูกาล ดังนั้นสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ดังนี้ จุดแข็ง ๑) ดินในพื้นที่ตำบลโนนงามเป็นดินที่ดี มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ๒) เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำการเกษตร โดยสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ๓) เกษตรกรมีความคุ้นเคยใกล้ชิดกันเป็นเครือญาติ มีการพึงพาอาศัยกัน จุดอ่อน ๑) เกษตรขาดองค์ความรู้ใหม่ๆ หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการทำการเกษตร ๒) ไม่มีระบบชลประทาน ๓) ทำการเกษตรระบบเดี่ยว (ไม่มีการปลูกพืชหลายชนิด และไม่มีการทำปศุสัตว์ ควบคู่ไปด้วย) ๔) เกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่มอย่างจริงจัง ๕) ขาดผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็ง อุปสรรค ๑) การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ๒) ปุ๋ยเคมีมีราคาสูง ๓) เกษตรกร ไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตเองได้ ขึ้งอยู่กับพ่อค้าคนกลาง โอกาส ๑) เกษตรกรมีความรักและหวงแหนในการทำอาชีพเกษตรกรรม ๒) มีการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐในส่วนกลาง ๓) กระแสตลาดที่มีความต้องการสินค้าด้านการเกษตรที่ปลอดสารพิษ 4) มีสภาพพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสม สภาพดินดี ๒. ด้านพัฒนาการศึกษาและเอกลักษณ์วัฒนธรรมและด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต จะเห็นได้ว่าตำบลโนนงามมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ถึง ๔ ศูนย์ มีโรงเรียนถึง ๒ โรงเรียน นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล เป็นหน่วยส่งเสริมการเรียนของประชาชนในพื้นที่ตำบล และจากตารางที่ ๑๕ จะเห็นว่าตำบลโนนงามมีวัดและสำนักสงฆ์ ถึง ๖ แห่ง ซึ่งถือว่ามากพอสมควรและประชาชนส่วนใหญ่ ประมาณ ร้อยละ ๙๕ นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ดังนี้ จุดแข็ง ๑) ประชากรนับถือพระพุทธศาสนา ๒) ประชากรมีการประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง ๓) มีผู้นำชุมชนที่ดี ๔) มีผู้บริหารที่มีความสามารถ ๕) การเป็นครอบครัวขยาย ไม่มีความขัดแย้งกันในชุมชน มีความโอบอ้อมอารีต่อกัน จุดอ่อน ๑) มีผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ๒) มีร้านค้าสถานบันเทิงที่ไม่ขออนุญาต ๓) การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อุปสรรค ๑) ยาเสพติด ๒) ผู้ติดยาเสพติด ๓) การลักขโมย ๔) หนี้นอกระบบ โอกาส ๑) มีศูนย์รวมจิตใจ คือ วัด ที่พักสงฆ์ ๒) มีโรงเรียนขยายโอกาส ๓) มีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ๔) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายในหมู่บ้าน ๕) มีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่าน ๖) ความเป็นสังคมชนบท ๗) เป็นคนดี มีวินัย ๓. ด้านพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จุดแข็ง ๑) ประชาชนเลือกผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิสภาด้วยตนเอง ๒) ไม่มีการร้องเรียนซึ่งกันและกัน ๓) ประชาชนมีความต้องการการกระจายอำนาจ จุดอ่อน ๑) ประชาชนไม่เข้าใจวิธีการลงคะแนนทำบัตรเสีย ๒) มีการจูงใจให้ลงคะแนน (การซื้อสิทธิขายเสียง) อุปสรรค ๑) งบประมาณจากการกระจายอำนาจไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ 2) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการปกครองตนเอง 3) ขาดความร่วมมือ 4) ความมีคุณธรรมจริยธรรมของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง โอกาส ๑) กฎหมายในระดับสูงสุด (รัฐธรรมนูญ) จนถึงกฎหมายในระดับต่ำสุด (ระเบียบ,ข้อบังคับ) สนับสนุนแนวทางการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ๒) นโยบายของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ๓) การใช้ระบบธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ๔. ด้านส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตำบลโนนงาม เป็นหนึ่งในตำบลที่ศาสนสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระธาตุพนมจำลอง ที่สำนักสงฆ์ภูตู้ทอง และสถานที่ท่องเทียวเชิงอนุรักษ์ภูตู้ทอง ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดในจังหวัดอำนาจเจริญ สูงจากระดับน้ำทะเล ๓๓๖ เมตร ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าว สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ดังนี้ จุดแข็ง ๑) มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และศาสนสถานที่เก่าแก่ ๒) มีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่าน ๓) มีความเป็นสังคมชนบท จุดอ่อน ๑) แผนผังแสดงเส้นทางคมนาคม จากทางหลวงแผ่นดินสู่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติภายในตำบลชัดเจน ๒) ขาดการประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง และสู่กลุ่มคนภายนอก ๓) การให้ความสำคัญในการดูแลและร่วมรักษาทรัพยากรจากประชาชนในชุมชน อุปสรรค ๑) ความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้าน ๒) การหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชุมชน ๓) การบุกรุกของกลุ่มนายทุน โอกาส ๑) ความเป็นสังคมชนบทที่ต้องอาศัยพึ่งพิงธรรมชาติในการดำรงชีวิต โดยการเกื้อกูลกัน ๒) กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ๕. ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จุดแข็ง ๑) มีส่วนงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือส่วนโยธา ๒) มีเส้นทางการคมนาคมเหมาะสมและเพียงพอ ๓) การให้ความสำคัญของคณะผู้บริหาร และสมาชิกสภา การติดตามเอาใจใส่ 4) มีประปาหมู่บ้านครบทุกหมู่บ้าน และพียงพอต่อการใช้ของประชาชน จุดอ่อน ๑) งบประมาณในการพัฒนามีน้อย ๒) การกระจายงบประมาณในการด้านโครงสร้างพื้นฐานไปหมู่บ้านต่างๆ ขาดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ๓) ไฟฟ้ายังมีไม่ทั่วถึง เนื่องจากประชากรมีการขยายครัวเรือนเพิ่มขึ้น อุปสรรค 1) การสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลาง 2) ขนาดของพื้นที่ตำบลต่อจำนวนเส้นทางคมนาคม 3) การเพิ่มจำนวนของเส้นทางในแต่ละปี โอกาส ๑) ความเป็นสังคมชนบท ๒) การพึ่งพาอาศัยกัน สังคมโดยส่วนใหญ่ยังไม่พึ่งพาเทคโนโลยีมากนัก ๓) ความสามัคคีของคนในชุมชน 4) เป็นพื้นที่รายง่ายต่อการพัฒนา จากข้อมูลการวิเคราะห์ในแต่ละด้านดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของตำบลโนนงาม คือการเป็นสังคมชนบท ของชาวตำบลโนนงาม ความโอบอ้อมอารี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นสังคมที่แบ่งปัน มีความรักความสามัคคี มีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการมีองค์กรในการพัฒนาตำบลที่เข้มแข็ง คือองค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม ดังนั้นจึงวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในภาพรวมได้ ดังนี้ จุดแข็ง (Strength - S) ๑) โครงสร้างองค์กรมีครบสี่ส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ ๒) มีการจัดวางระบบควบคุมภายในเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๓)การใช้แผนพัฒนาเป็นเครื่องมือการบริหารงานเพื่อการพัฒนาและกรอบการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณ ๔) การพัฒนาท้องถิ่นโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและส่วนรวม ๕) การปฏิบัติราชการโดยยึดถือกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือสั่งการ เพื่อความถูกต้องและลดความเสี่ยงในการปฏิบัติราชการ ๖) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กมีเขตการปกครองจำนวน ๘ หมู่ สามารถบริหารงานได้ทั่วถึงและครอบคลุม ๗) การจัดให้มีวัสดุครุภัณฑ์และเครื่องมือเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อการที่จำเป็น เพื่อเอื้อต่อการปฏิบัติราชการและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ๘) ความเป็นสังคมชนบท ความโอบอ้อมอารี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นสังคมที่แบ่งปัน มีความรักความสามัคคี จุดอ่อน (Weakness-W) ๑) ข้อจำกัดด้านงบประมาณที่ได้รับอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อการบริหารงานทั่วไป ๒) ข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การปฏิบัติตามแผนพัฒนาท้องถิ่นอาจไม่สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย ๓) ข้อจำกัดด้านบุคลากรมีน้อยอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ๔) การแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มบุคคล ในการเสนอราคาในงานพัฒนาต่างๆ ของตำบล โอกาส (Opportunity - O) ๑) การพัฒนาบุคลากร ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยการส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษา การเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อให้การปฏิบัติราชการมี ประสิทธิภาพ ๒) องค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชนร่วมกันรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีของท้องถิ่น ๓) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ๔) การจัดทำและการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบูรณาการปฏิบัติราชการและเกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๕) การได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลทั้งงบอุดหนุนเฉพาะกิจและงบอุดหนุนทั่วไปเพื่อบริหารและพัฒนาท้องถิ่น ๖) นโยบายของรัฐบาลการเพิ่มรายได้ให้ข้าราชการและพนักงานเพื่อการครองชีพและสวัสดิการสังคมรวมทั้งกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศเพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ ๗) การเปิดประตูเข้าสู่(ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนAEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะทำให้มีผลประโยชน์อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า- ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรียกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า)เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนาและยกระดับการพัฒนา สามารถปรับตัวจากสังคมภายนอกได้อย่างมีภูมิคุ้มกัน ๘) ตำบลยังเป็นสังคมชนบท ชุมชนและประชาชนมีความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อและวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเอื้อต่อปกครอง การอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมอันดี รวมทั้งการจัดวางระบบผังเมืองให้เกิดการบริหาร การพัฒนาที่เป็นระบบ อุปสรรค (Threat-T) ๑) สภาวะทางธรรมชาติ ทั้งภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดสภาวะอากาศร้อนมากขึ้นรวมทั้งการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสาธารณภัย ๒) การแพร่หลายของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก รวมทั้งสื่อออนไลน์ ภัยคุกคามจากสื่อ ITอินเตอร์เน็ต อาจส่งผลกระทบด้านสังคมขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ๓) เสถียรภาพของรัฐบาลซึ่งอาจส่งผลต่อการนโยบายการพัฒนาและความต่อเนื่องการบริหารราชการแผ่นดิน ๔) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลมีจำกัด ทำให้สัดส่วนการพัฒนาท้องถิ่นมีน้อยและไม่ครอบคลุมทุกยุทธศาสตร์ ๕) การบุกรุกของกลุ่มนายทุน ๖) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการปกครองตนเอง ๗) กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและหนังสือสั่งการมีมาก รวมทั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติมอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติราชการเกิดความผิดพลาด และบางกรณีทำให้เกิดการซ้ำซ้อน ความสับสน ต่อระดับผู้ปฏิบัติ ๘) ประชาชนบางส่วนยังคงแนวความคิดในการรอรับความช่วยเหลือมากกว่าการพึ่งตนเอง ๙) ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและพลังงานน้ำมัน บทสรุป จากการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสในการพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม ด้วยเทคนิค SWOT Analysis (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดแนวความคิดและมองเห็นทิศทางขององค์ การบริหารส่วนตำบลโนนงาม ที่จะต้องมุ่งไปในอนาคต หรือวิสัยทัศน์ (Vision) และความเป็นตัวตนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม หรืออัตลักษณ์ (Identity)

check_circle ติดต่องานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ข้อมูลการติดต่อ
ติดต่องานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม โทรศัพท์ 045-525-924 นางสาวสุมิตรา รัฐเมิน เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติงาน โทร. 084-107-0926